ในอดีตการสร้างภาพกราฟิกทำได้โดยใช้ดินสอ ปากกา หมึก สี เขียนบนสื่อ เช่น ผนังถ้ำ ไม้ไผ่ ผ้า หรือกระดาษ 
แต่ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพกราฟิก  ทำให้ได้ภาพกราฟิกที่งดงามมีคุณภาพและทำได้ง่าย  จะเห็นได้ว่า  การใช้คอมพิวเตอร์ ทำงานกราฟิกเป็นไปอย่างกว้างขวาง  เช่น  การโฆษณา  สิ่งตีพิมพ์  ภาพยนตร์  เกม  การออกแบบผลิตภัณฑ์  การแสดงผลข้อมูล  การแสดงภาพทางการแพทย์ 
             ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิกนั้นสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปได้ โดยมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์
บางประการ ให้กับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล  การนำเข้าข้อมูล  การแสดงผลข้อมูลแบบกราฟิก  

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์



1) ฮาร์ดแวร์(Hardware) หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถจับต้องใด้ที่ใช้ในงานระบบสารสนเทศ เช่นอุปกรณ์และเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสำคัญที่สุดคือ คอมพิวเตอร์ โดยหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มี 5 หน่วยคือ

        1. หน่วยประมวลผลกลาง  (หรือ Processor)  หน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า  หน่วยประมวลผล
กลาง หรือซีพียู  มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ  ประมวลผลข้อมูลต่าง  ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน  การ ติดต่อสื่อสารระหว่างองค์ประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เรียกได้ว่าซีพียูนี้
เปรียบเหมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์

      2. หน่วยความจำหลัก 

            หน่วยความจำหลัก  มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียก
ใช้งานได้หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2  ส่วน คือ แรม กับรอม

           แรม  เป็นหน่วยความจำหลักที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป  หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลตราบเท่าที่ยังเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่
หรือยังมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้วงจรอยู่  แต่หากเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเกิดไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที

            รอม  เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่ง หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อทำการเปิดเครื่อง ซีพีย
ูจะเริ่มทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้
ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้ จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่อง ข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบแต่อย่างใด

            3. หน่วยความจำสำรอง 

            หน่วยความจำสำรอง  มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ไว้ ตามที่ผู้ใช้
ต้องการ หากถูกเรียกใช้งานเมื่อใด ก็ถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองมาไว้ที่หน่วยความจำหลัก
นั่นคือ แรม เพื่อให้หน่วยประมวลผลทำงานติ่ไป หน่วยความจำประเภทนี้หากมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือไฟดับ ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไปไหน  หน่วยความจำสำรองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์
มีอยู่หลายประเภท เช่น

        – แผ่นบันทึก (หรือ Floppy Disk) แผ่นบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบาง ฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ใน
กรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากบรรจุข้อมูลได้น้อย และ
ชำรุดง่าย

         – ฮาร์ดดิสก์  ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่แหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน  หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว
ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นบันทึกหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น  การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง
เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์   แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์แบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ  ฮาร์ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล
ที่มีความจุสูงมาก มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น 320  กิกะไบต์  การอ่านและเขียนข้อมูลจะกระทำได้เร็วมาก

   – แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี  ในปัจจุบันแผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย
เนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์
และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์

          – หน่วยความจำแบบแฟรช (หรือ Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอม ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของ รอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว ปัจจุบัน
มีผู้หันมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรชกันมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เช่น 4 กิกะไบต์, 8 กิกะไบต์

             4. หน่วยรับข้อมูล

หน่วยรับข้อมูล เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท เช่น

            – แป้นพิมพ์  (หรือ Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ แล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์

            – เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพแล้วคลิกปุ่มเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์

             – เครื่องกราดตรวจ (หรือ Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีของการผ่านแสงเพื่อทำการอ่านรหัสสัญลักษณ์ เพื่อให้
คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลต่อไป

             – จอสัมผัส (หรือ Touch Screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลเข้า และส่งออกข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน จอภาพสามารถรับข้อมูลไป
ประมวลผลโดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพประกอบไปด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่ง
สัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้

         5. หน่วยส่งออกข้อมูล

           หน่วยส่งออกข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลออกมา เช่น

           – จอภาพ (หรือ Monitor) การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพ
จะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว  20  นิ้ว เป็นต้น

          – เครื่องพิมพ์ (หรือ Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ส่งออกข้อมูลในรูปของการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษหรือวัตถุต่างๆ  ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ออกมาหลายลักษณะตามความต้องการของผู้ใช้งาน     

             เราสามารถเปรียบเทียบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์กับร่างกายมนุษย์ได้  ซีพียูและหน่วยความจำหลักหรือแรม  เปรียบเหมือนสมองของมนุษย์ซึ่งทำงานทั้งควบคุมร่างกายเหมือนซีพียูและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนแรม  นอกจากนี้สมองยังจดจำ
สิ่งต่าง ๆ ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  ถ้าเราไม่ทบทวนความรู้เหล่านั้น สิ่งที่เราจดจำไว้ก็จะหายไป  เหมือนกับการทำงานของแรม  ส่วนหน่วยความจำสำรองเปรียบเสมือนหนังสือ หรือสมุดบันทึกใดๆ  ที่สามารถอ่านและบันทึกสิ่งต่าง ๆ ลงไปได้  และสิ่งที่จดบันทึกนั้น
ไม่สูญหายไปไหน  ส่วนหน่วยรับข้อมูลเข้าก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ของคน  ส่วนหน่วยส่งออกข้อมูลก็คือ  ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
ที่สามารถแสดงออกให้ผู้อื่นรับรู้ได้ เช่น  ปาก  มือ  แขน  หรือขา  เป็นต้น 

ที่มา kruuten (google.com)

ที่มา : ::. คุณสมบัติของงานกราฟิก (thaigoodview.com)