เนื้อหา

หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ

 

หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ จัดทำขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ง30236  การจัดสวน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบไปด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ได้แก่

หน่วยที่ 1 เรื่อง สำรวจข้อมูลพื้นฐาน

หน่วยที่ 2 เรื่อง สร้างแรงบันดาลใจ

หน่วยที่ 3 เรื่อง ร่วมมือกันออกแบบ

หน่วยที่ 4 เรื่อง สร้างเรื่องราวในสวน

หน่วยที่ 5 เรื่อง ประชาสัมพันธ์สู่มวลชน

รายงานการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คู่มือการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ

การเผยแพร่ผลงานการพัฒนาหลักสูตร

 


 

 สรุปย่อผลการวิจัย

ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาไทย)

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนโนนหันวิทยายน

ชื่อผู้วิจัย (ระบุคำนำหน้านาย/นาง/นางสาว) นางอารี  ราชสาร

ปีที่วิจัย (ปีที่ทำวิจัยแล้วเสร็จ) 2555

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลการใช้และปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโนนหันวิทยายน  จำนวน 33 คน  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  เป็นเวลา 40 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  ประเด็นสนทนากลุ่ม  แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร แบบทดสอบ  แบบประเมินผลงานภาคปฏิบัติ  แบบสอบถามความคิดเห็น  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่านักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  เรื่อง  สวนสวยด้วยสองมือ  เน้นรูปแบบของการพัฒนาการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยการออกแบบและพัฒนาบริเวณโรงเรียน มีครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญงานจัดสวนเข้ามาจัดการเรียนรู้และประเมินผล  2) ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา  ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้  โครงสร้างหลักสูตร/เวลาเรียน  หน่วยการเรียนรู้   แนวทางการจัดการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อและแหล่งเรียนรู้  การวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้   เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย (1) ความรู้พื้นฐานการจัดสวน (2) การออกแบบจัดสวน (3) การจัดตกแต่งสวน (4) การสรุปประเมินผลการจัดสวน  จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา  การตรวจสอบประสิทธิภาพพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00  3)  ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจ  กระตือรือร้นในการเรียนรู้  และร่วมมือกันในการทำกิจกรรมกลุ่ม ออกแบบและการปฏิบัติงานจัดสวนได้ตามวัตถุประสงค์  4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร  พบว่า  นักเรียนมีผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสวนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  นักเรียนมีความสามารถในการจัดสวนอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก

 


 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง  มีความยืดหยุ่นสูง  เป็นการนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ตามความเหมาะสมและสภาพของท้องถิ่น  ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ  สามารถปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข  บนพื้นฐานของสังคมและวัฒนธรรมที่ตนเองมีปฏิสัมพันธ์อยู่  (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) หลักสูตรท้องถิ่นพัฒนาจากปัญหาและความต้องการของผู้เรียน  โดยการปรับปรุงจากหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน  มีความใหม่  ทันสมัยและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอและเป็นหลักสูตรที่ปรับให้เข้ากับชีวิตของผู้เรียน  ซึ่งครูและผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ร่วมกันพัฒนาหรือสร้างหลักสูตรสำหรับตนเองขึ้นมาตามสภาพของเหตุการณ์หรือปัญหาในขณะนั้น

การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มงานเกษตร ผู้สอนจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สามารถประยุกต์ใช้ความรู้สำหรับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์ในสังคมไทยและสังคมโลก แต่ในความเป็นจริงโรงเรียนหลายแห่งในพื้นที่ห่างไกลรวมทั้งโรงเรียนโนนหันวิทยายนไม่สามารถจัดกิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโรงเรียนและครูที่ต้องหาวิธีการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนและชุมชน

วิชาการจัดสวน เป็นรายวิชาเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโนนหันวิทยายน  ที่สามารถจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในบางเนื้อหาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้  ความคิด และทักษะ จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริงและการทำงาน รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรัก และความผูกพันกับท้องถิ่นของตน  อันจะนำไปสู่การคิดเป็นทำเป็นและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ  ได้  จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

 


 

 วัตถุประสงค์การวิจัย 

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
          2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
          3.  เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
         4. เพื่อประเมินผลการใช้และปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น ด้านผลการเรียนรู้ เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ ความสามารถในการปฏิบัติงานจัดสวน  และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ

 



นิยามศัพท์เฉพาะ
       1. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  หมายถึง กระบวนการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ ให้สอดคล้องกับจุดเน้นของชุมชน ท้องถิ่น ตามความต้องการ ความสนใจของนักเรียน  และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการของนักเรียนและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น

  •          2. หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ หมายถึง สาระและมวลประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดตกแต่งสวน ที่จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับจุดเน้นของชุมชน ท้องถิ่น ความต้องการ ความสนใจของนักเรียน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแนวคิด หลักการ จุดมุ่งหมาย ผลการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างหลักสูตร ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อสร้างองค์ความรู้  สื่อการเรียนรู้  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แผนการจัดการเรียนรู้  โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานการจัดสวน การออกแบบจัดสวน การจัดตกแต่งสวน การสรุปประเมินผลและเผยแพร่  

        3.  ผลการเรียนรู้ เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ หมายถึง คะแนนด้านความรู้ที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

4. ความสามารถในการปฏิบัติงานจัดสวน หมายถึง คะแนนด้านการปฏิบัติงานจัดสวนที่ได้จากการวัดผลการปฏิบัติงานทั้งขั้นเตรียมการ  ขั้นปฏิบัติงาน  ขั้นหลังปฏิบัติงานและผลงาน โดยใช้แบบประเมินผลงานภาคปฏิบัติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

5. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ  หมายถึง การแสดงความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ ด้านเนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อการเรียนรู้  การวัดผลและประเมินผล  บรรยากาศในการเรียนรู้และประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งประเมินจากการตอบแบบสอบถาม

 


 แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บทได้กำหนดจุดหมาย  เนื้อหาสาระและกิจกรรมให้ทุกคนได้เรียนรู้คล้ายคลึงกัน  ทำให้กระบวนการเรียนการสอนมุ่งเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่เป็นหลักการทั่วไปไม่สามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพแวดล้อมสังคม  เศรษฐกิจ  ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นในแต่ละแห่งได้ทั้งหมด  จึงต้องพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นให้ได้มากที่สุด เพื่อปรับสภาพของผู้เรียนให้สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภูมิลำเนาท้องถิ่นของตน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาตนเอง  ครอบครัวและท้องถิ่น  ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นสุข ช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพัน รวมทั้งภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน มีความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น  ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตของตนเอง  ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์  ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามสภาพจริงของตนเอง  สามารถนำความรู้ ไปใช้การพัฒนาตนเอง  ครอบครัว และชุมชนได้

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ผู้วิจัยได้สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสงัด  อุทรานันท์ (2532) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยอาศัยการระดมความคิด แสวงหาคำตอบ เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาของสถานศึกษา ความต้องการของผู้เรียน เนื้อหาหลักสูตร หลักและวิธีการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คัดเลือกและจัดเนื้อหา กำหนดวิธีการประเมินผล ประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร โดยการจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร ดำเนินการสอนตามหลักสูตรและนิเทศการใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุง  เพื่อจะตรวจสอบว่าการเรียนการสอนได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่  สมควรจะมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง

 


 

 

กรอบแนวคิดการวิจัย

 


 

แบบแผนการวิจัย  

          ดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design  

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียน
โนน
หันวิทยายน ตำบลโนนสะอาด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 33 คน เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่เปิดสอนในรายวิชานี้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร แบบทดสอบ   แบบประเมินผลภาคปฏิบัติ  แบบสอบถามความคิดเห็น 

         การพัฒนาและการหาคุณภาพของเครื่องมือ

2) แบบสัมภาษณ์ พัฒนาโดยการศึกษาแนวคิดหลักการ ทฤษฎี กำหนดโครงสร้างเครื่องมือและขอบเขตเนื้อหา นำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข  หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

3) ประเด็นสนทนากลุ่ม พัฒนาโดยการศึกษาแนวคิดหลักการ ทฤษฎี กำหนดโครงสร้างเครื่องมือและขอบเขตเนื้อหา นำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข  หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

4) แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร พัฒนาโดยการศึกษาแนวคิดหลักการ ทฤษฎี กำหนดโครงสร้างเครื่องมือและขอบเขตเนื้อหา นำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข  หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

5) แบบทดสอบ พัฒนาโดยการศึกษาแนวคิดหลักการ ทฤษฎี กำหนดโครงสร้างเครื่องมือและขอบเขตเนื้อหา นำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโนนหันวิทยายน จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่ายและค่าความเชื่อมั่น

6) แบบประเมินผลภาคปฏิบัติ พัฒนาโดยการศึกษาแนวคิดหลักการ ทฤษฎี กำหนดโครงสร้างเครื่องมือและขอบเขตเนื้อหา นำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข  หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

7) แบบสอบถามความคิดเห็น พัฒนาโดยการศึกษาแนวคิดหลักการ ทฤษฎี กำหนดโครงสร้างเครื่องมือและขอบเขตเนื้อหา นำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข  หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

 


 

การเก็บรวบรวมข้อมูล

         ขั้นตอนที่ 1  ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความต้องการจำเป็นและการหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการจัดสวน เอกสาร นโยบาย ต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์หลักการ  จุดหมาย  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้   คุณภาพผู้เรียน วิสัยทัศน์สถานศึกษา และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอ ในรูปแบบพรรณนาความในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานโดยการสัมภาษณ์  การใช้แบบสอบถาม  และการสนทนากลุ่ม

ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรฉบับร่างและเครื่องมือการวิจัย นำเครื่องมือที่สร้างขึ้น พร้อมทั้งโครงร่างหลักสูตรให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบคุณภาพ

         ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนโนนหันวิทยายน  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 33 คน  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสังเกต รับรู้และเข้าใจปัญหา 2) ขั้นคิดหาทางเลือก 3) ขั้นเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา 4) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา และ 5)  ขั้นประเมินผลและสรุปผล

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลหลังจากผู้วิจัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนจบหลักสูตรแล้ว  มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานจัดสวน และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินผลหลักสูตรในขั้นต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

         1)  ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา

2)  ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา

3)  ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา

         5)  ข้อมูลจากแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรโดยการหาค่า t-test  แบบ dependent 

         6)  ข้อมูลจากแบบประเมินผลภาคปฏิบัติ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

         7)  ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา 

 


สรุปผลการวิจัย

        1) นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  เรื่อง  สวนสวยด้วยสองมือ  เน้นรูปแบบของการพัฒนาการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยการออกแบบและพัฒนาบริเวณโรงเรียน มีครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญงานจัดสวนเข้ามาจัดการเรียนรู้และประเมินผล
        2)  ผลการพัฒนาหลักสูตร ได้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา  ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้  โครงสร้างหลักสูตร/เวลาเรียน  หน่วยการเรียนรู้   แนวทางการจัดการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อและแหล่งเรียนรู้  การวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้   เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย (1) ความรู้พื้นฐานการจัดสวน (2) การออกแบบจัดสวน (3) การจัดตกแต่งสวน (4) การสรุปประเมินผลการจัดสวน จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา  การตรวจสอบประสิทธิภาพพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสม
        3)  ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจ  กระตือรือร้นในการเรียนรู้  และร่วมมือกันในการทำกิจกรรมกลุ่ม สามารถออกแบบและปฏิบัติงานจัดสวนได้ตามวัตถุประสงค์ 
       4)  ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร  พบว่า  นักเรียนมีผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสวนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัติงานจัดสวนอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมืออยู่ในระดับมาก

 


 

อภิปรายผลการวิจัย

        1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  เรื่อง  สวนสวยด้วยสองมือ  ที่เน้นรูปแบบของการพัฒนาการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยการออกแบบและพัฒนาบริเวณโรงเรียน มีครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญงานจัดสวนเข้ามาจัดการเรียนรู้และประเมินผล สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) ที่ต้องการให้จัดการศึกษาสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นมากที่สุด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่กำหนดความมุ่งหมายและหลักการในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  มาตรา 27  ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ  มาตรา 28  กำหนดให้สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม

2.  ผลการพัฒนาหลักสูตร ได้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ ซึ่งจากการตรวจสอบประสิทธิภาพพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00   ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการสร้างหลักสูตรอย่างเป็นระบบตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตร สอดคล้องกับ สงัด อุทรานันท์ (2532) ที่นำเสนอขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ การกำหนดมาตรฐานการวัดผลและประเมินผล การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

3.  นักเรียนส่วนใหญ่สนใจ  กระตือรือร้นในการเรียนรู้  และร่วมมือกันทำกิจกรรมกลุ่ม สามารถออกแบบและปฏิบัติงานจัดสวนได้ตามวัตถุประสงค์  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของจริยา  ศรีเพชร (2550)  ที่ได้ศึกษา เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง คลองมหาสวัสดิ์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และพบว่า ขณะทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ นักเรียนมีความกระตือรือร้น  มีความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม และสนใจปฏิบัติกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับ ธัญดา ไตรวนาธรรม (2552) ที่ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาหลักสูตร เรื่อง การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าสู่งานอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้  พร้อมกับร่วมมือกันในการทำกิจกรรมกลุ่ม  โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

4.  นักเรียนมีผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสวนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  นักเรียนมีความสามารถในการจัดสวนอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก  ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีทักษะการทำงาน ทักษะการจัดการ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้การทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม คุ้มค่าและมีคุณธรรม สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ ๆ สามารถทำงานเป็นหมู่คณะมีนิสัยรักการทำงาน  เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่องาน  ตลอดจนมีคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่  ความขยัน  ซื่อสัตย์  ประหยัดและอดทน  อันจะนำไปสู่การให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเองและพึ่งพาตนเองได้ตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร่วมมือและแข่งขันในระดับสากลในบริบทของสังคมไทย

 


 

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย

          จากการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องสวนสวยด้วยสองมือ  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

1.  ข้อเสนอแนะในการนำหลักสูตรไปใช้  เพื่อให้การนำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

     1.1  โรงเรียนโนนหันวิทยายนควรส่งเสริมการนำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ ไปใช้ในการจัดเรียนการสอนและเผยแพร่ให้โรงเรียนที่สนใจนำไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

     1.2   โรงเรียนโนนหันวิทยายนควรส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามความต้องการของนักเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว ให้นักเรียนได้ปฏิบัติงานจัดสวนในบริเวณโรงเรียนเพื่อสร้างจิตสำนึกรักสถาบันและสร้างความภาคภูมิใจ

     1.3  ครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้เรื่องการออกแบบจัดสวนจนนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ออกแบบจัดสวนได้อย่างสร้างสรรค์ก่อนการลงมือปฏิบัติงานจัดสวนในบริเวณที่รับผิดชอบ

      1.4  โรงเรียนโนนหันวิทยายนหรือโรงเรียนที่มีบริบทคล้ายคลึงกันควรส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมเป็นแกนนำในการพัฒนาบริเวณโรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน หรือจัดการประกวดบริเวณรับผิดชอบของห้องเรียน 

          2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

            2.1 ควรมีการวิจัยติดตามผลถึงการนำความรู้ทักษะกระบวนการทำงาน ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันว่ามีความคงทนหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

             2.2 ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นในการทำงานไปใช้ กับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

 


 

รายการอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ.  (2542).  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.  กรุงเทพฯ:
              โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ.  (2551).  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551
              กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จริยา  ศรีเพชร (2550).  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง คลองมหาสวัสดิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
             ปีที่ 6.
  วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ  บัณฑิตวิทยาลัย
              มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญดา  ไตรวนาธรรม.  (2552).  การพัฒนาหลักสูตร เรื่อง การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าสู่งานอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัญญา  สังข์ภิรมย์ และสุคนธ์  สินธพานนท์. 2550).  สุดยอดวิธีสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี :
              นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่
.  นนทบุรี : บริษัทไทยร่มเกล้า จำกัด.
สงัด  อุทรานันท์(2532).  พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 – 2559).

            พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.