สื่อการเรียนรู้ออนไลน์
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ สำนวนไทยพาเพลิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. สำนวนที่เกิดจากวงการสื่อมวลชน เช่น  ไปไม่ถึงดวงดาว (ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คิดไว้) มองต่างมุม (แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป)  เป็นต้น

2. สำนวนที่เกิดจากวงการเมือง  เช่น  โปร่งใส (ชัดเจน ไม่มีลับลมคนใน)  น็อตหลุด    (ยั้งไม่อยู่  พูดโพล่งออกมาหรือแสดงอารมณ์อย่างไม่สมควร)   เป็นต้น

  3. สำนวนที่เกิดจากวงการโฆษณา  เช่น  ภาษาดอกไม้ (คำพูดที่ไพเราะ รื่นหู  พูดไป  ทางที่ดี)   มีระดับ (คุณภาพดี  มีมาตรฐานสูง)   เป็นต้น

4. สำนวนที่เกิดจากวงการบันเทิง เช่น แจ้งเกิด (เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น ๆ)   คู่กัด (คู่ที่ไม่ถูกกัน)  เป็นต้น

5. สำนวนที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ   เช่น เเกะดำ (back sheep ใช้หมายถึง คนชั่วในกลุ่มคนดี)   แขวนอยู่บนเส้นด้าย (hang by a thread  ใช้หมายถึง  ตกอยู่ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย)  ลื่นเหมือนปลาไหล (slippery as eel ใช้หมายถึง  (คน)ที่เชื่อถือได้ยากเพราะเป็นคนตลบตะแลง  พลิกแพลงกลับกลอก  หรือหลบเลี่ยงไปมาได้คล่องแคล่ว)  ล้างมือ (wash one’ s hand of  ใช้หมายถึง  ปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ  หรือเลิกเกี่ยวข้อง)  สร้างวิมานในอากาศ (build castles in the air  ใช้หมายถึง  ฝันหรือหวังในสิ่งที่ไม่วสามารถจะเป็นความจริงได้)  เป็นต้น

6. สำนวนเกิดใหม่ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน 
        -สำนวนสร้างใหม่  เช่น  ขบเหลี่ยม (ไม่ลงรอยกัน  ขัดกัน  หักร้างกัน) ไทยเหลือง (พระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสม)
        -สำนวนดัดแปลง  เช่น  กิ้งก่าฟาดหาง (อาการเตะเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้าม  ดัดแปลงจากชื่อท่ามวยไทย  จระเข้ฟาดหาง )  นักกินเมือง (นักการเมืองที่มุ่งแต่จะหาประโยชน์เข้าตัวเอง  ดัดแปลงจากคำว่า  นักการเมือง)  ยุค IMF  (ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำต้องประหยัด  IMF  มาจากคำว่า International Monetary Found  ซึ่งเป็นชื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
         -สำนวนที่เปลี่ยนบริบทการใช้  เช่น  ชิงสุกก่อนห่าม (ตกรอบไปก่อนเวลาอันสมควร
ปรกติใช้กับการที่หนุ่มสาวลักลอยได้เสียกันก่อนแต่งงาน  แต่นำมาใช้ในบริบทใหม่ทางการกีฬา)
อุ้ม (ลักพาตัวไป เพื่อนำไปฆ่า  เปลี่ยนความหมายจากเดิมที่หมายถึง โอบ ยกขึ้น ยกขึ้นไว้กับตัว  หรือให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือ)
        -สำนวนที่มาจากภาษาต่างประเทศ  เช่น  ฮั้ว (สมยอมกันในการประมูลงานโดย บริษัทหนึ่งจะ นัดบริษัทอื่น ๆ   ที่สนใจในการประมูลงานใดงานหนึ่งมาตกลงกัน  บริษัทนั้นจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้บริษัทอื่น ๆ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นหลีกทางให้บริษัทตนเป็นผู้ประมูลได้  มาจากคำว่า  ฮั้ว ในภาษาจีน)  ไฮโซ  ไฮซ้อ  ไฮซิ้ม  (ชนชั้นสูงหรือผู้มีเงิน  มีฐานะในวงสังคม  มีที่มาจากคุณหญิง คุณนายที่เป็นภรรยาหรือบุตรนักธุรกิจ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเสื้อสายจีน  และบางคนอาจมีลักษณะของความเป็นจีนอยู่  จึงมีการพูดล้อเลียน  ไฮซ้อ  ไฮซิ้ม   มาจากคำว่า  ไฮโซ รวมกับคำว่า  ซ้อ  และ ซิ้ม  ซึ่งเป็นภาษาจีน)  เตะซีมะโด่ง (ให้พ้นจากตำแหน่ง  ปรกติจะใช้ว่า  เตะโด่ง   ซีมะโด่ง  เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า  ซีมวยดอง  แปลว่า  กินหนึ่งครั้ง  เสียงพยางค์สุดท้ายใกล้เคียงกับคำว่า โด่ง  ในภาษาไทย  จึงนำมาใช้แทนคำว่า โด่ง)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา: http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/Objectives.html

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดสวนถาด
การละเล่นไทย
คำบาลี-สันสกฤต
คำเป็น-คำตาย
ประโยคความรวม
เสียงในภาษาไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  ออกแบบและพัฒนาโดย นายพีระพล โพธิ์แย้ม และ นางสาวจิราภรณ์ ผ่อนดี