สื่อการเรียนรู้ออนไลน์
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ สำนวนไทยพาเพลิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      

ข้อควรคำนึงในการใช้สำนวนไทย  ได้แก่ 

1. ควรใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมาย  นั่นคือ  ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้และเข้าใจความหมายของสำนวนอย่างถ่องแท้  จึงจะใช้สำนวนได้ถูกต้องตามความหมาย  เพราะมีสำนวนที่มีคำใช้คล้ายกันแต่มีความหมายต่างกัน  จึงใช้แทนกันไม่ได้  แต่ก็มีบางสำนวนที่มี ความหมายเหมือนกัน  คล้ายคลึงกันอาจใช้แทนกันได้  แต่บางสำนวนแม้จะ มีความหมายเหมือนกันก ็ไม่อาจจะใช้แทนกันได้  ทุกสถานการณ์  ดังตัวอย่างสำนวนต่อไปนี้

สำนวน สำนวน สำนวน
คาบลูกคาบดอก ลูกผีลูกคน  
ผีกับโลง กิ่งทองใบหยก  
คางคกขึ้นวอ แมงปอใส่ตุ้งติ้ง กิ้งก่าได้ทอง
ปัดแข้งปัดขา ถีบหัวส่ง เหยียบจมธรณี
ไก่ได้พลอย ตาบอดได้แว่น วานรได้แก้ว
เอามือซุกหีบ เอาไม้สั้นไปรันขี้ เอาไม้ซักไปงัดไม้ซุง

 

2.ไม่เขียนสำนวนผิดหรือใช้ต่างไปจากสำนวนที่มีใช้อยู่โดยทั่วไปเพราะจะสื่อความหมายไม่ได้  ดังจุดประสงค์  เช่น

สำนวน สำนวนที่ต่างไป
กงเกวียนกำเกวียน กงกำกงเกวียน
ไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวัน ไม่ได้พบเดือนพบตะวัน
รู้ธาตุแท้ รู้เช่นเห็นชาติ รู้เช่นเห็นธาตุ
ศึกเสือเหนือใต้ ศึกเหนือเสือใต้
หัวมังกุด ท้ายมังกร หัวมังกุฎ ท้ายมังกร
เอาใจออกหาก เอาใจออกห่าง

 

3. ใช้สำนวนให้ถูกต้องตามสถานการณ์  สอดคล้องกับกาลเทศะและบุคคลและใช้ให้พอเหมาะ ไม่ฟุ่มเฟือย จนไม่อาจสื่อสารได้ดังต้องการ  ดังนั้นควรคำนึงถึงโอกาสและความเหมาะสมเป็นสำคัญ  เช่น

สำนวน ความหมาย สำนวน ความหมาย
ก้มหน้า ก.จำทน  เช่น  
ต้องก้มหน้า 
ทำตามประสายาก
กระดี่ได้น้ำ น.ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ  ดีอกดีใจ  ตื่นเต้นจนตัวสั่น  เช่น  เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ
กำเริบเสิบสาน ก ได้ใจ, เหิมใจ ก่อร่างสร้างตัว ก.ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ 
เป็นหลักฐาน
กิ่งทองใบหยก ว.เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิง กับชายที่จะ แต่งงานกัน) กินตามน้ำ ก.รับของสมนาคุณที่เขา 
เอามาให้ โดยไม่ได้ เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน ผู้มีอำนาจ
กินน้ำใต้ศอก ก.จำต้องยอมเป็นรองเขา,  ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า,  (มักหมายถึงเมียน้อย 
ที่ต้องยอมลงให้แก่ 
เมียหลวง)
กินอยู่กับปาก  
อยากอยู่กับท้อง
ก.รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้
แกะดำ น.คนที่ทำอะไรผิดเพื่อนผิดฝูง 
ในกลุ่มนั้น ๆ  (ใช้ในทางไม่ดี)
ไก่รองบ่อน น.ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง  ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้
       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา: http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/Objectives.html

 

 

 

 

 

การจัดสวนถาด
การละเล่นไทย
คำบาลี-สันสกฤต
คำเป็น-คำตาย
ประโยคความรวม
เสียงในภาษาไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  ออกแบบและพัฒนาโดย นายพีระพล โพธิ์แย้ม และ นางสาวจิราภรณ์ ผ่อนดี